เครื่องเล่นคาราโอเกะไทย จำหน่ายติดตั้ง
www.karaoke-thai.com
|
การออกแบบห้องเก็บเสียง ห้องคาราโอเกะห้องดูหนังฟังเพลง และปรับปรุงคุณลักษณะทางเสียง
ในตอนเช้า ๆ เราคงเคยสังเกตุ ว่าหากร้องเพลงในห้องนอน เสียงที่ได้ยินจะเป็นแบบหนึ่ง เมื่อเปลี่ยนเป็นเข้าไปร้องในห้องน้ำกลับได้เสียงที่ก้องกังวาลกว่าเป็นพิเศษ ... โดยความเป็นจริงแล้ว เราจะไม่เคยได้ยินเสียงเหมือนเดิมเลยสักครั้ง เมื่อเปลี่ยนสถานที่ไป อันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ประกอบเข้าเป็น acoustic character โดยรวมของสถานที่นั้น ๆ
ดังนั้น สำหรับงานซาวด์ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้น ต้องมีการค้นหาและควบคุมอย่างเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม ‘ห้อง’ ก็มี character ของตัวเอง ไม่สามารถทำให้เหมือนกันได้ ทำให้การ ‘เลือกห้อง’ หรือ ‘จัดทำห้อง’ ควรพิจารณาตามลักษณะประเภทของงาน เช่น งานประเภท Acoustic, Blue หรือ Jazz อาจต้องเลือกใช้ห้องบันทึกที่มี character แบบ live room คือ กว้าง และ มี reverb เสียงบันทึกออกมาจะโปร่ง ๆ ใส ๆ ไม่อึดอัด แต่กับงานประเภท Rock อาจต้องเลือกใช้ห้องบันทึกที่เป็นแบบ dry/dead room คือขนาดพอเหมาะ ไม่มี reverb หรือมีน้อยมาก เป็นต้น
นอกจาก ‘ห้อง’ สำหรับไว้ใช้บันทึก หรือเรียกว่า recording/live room แล้ว ยังมี ‘ห้อง’ อีกประเภทหนึ่ง สำหรับไว้ให้ sound engineer ทำงาน เรียกว่า control room เมื่อประกอบเข้ากับ ลำโพงมอนิเตอร์ เมื่อทำงาน เสียงที่ได้ยินผ่านถึงหูจะต้องมีความเที่ยงตรงเป็นพิเศษ ไม่ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ หรือเรียกว่าไม่มี color เพื่อให้ sound engineer ได้ตัดสินใจปรับแต่งอย่างถูกต้องที่สุด
|
|
การทำโครงสร้าง
(Building Structure)
จุดประสงค์ของการทำโครงสร้าง คือ ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกเข้ามาข้างใน หรือ กันเสียงข้างในไม่ให้ออกไปรบกวนข้างนอก หรือ soundproof นั่นเอง การทำโครงสร้างที่เป็น soundproof อาจทำได้ด้วยการสร้างขึ้นมาใหม่ ด้วยการเลือกวัสดุ และ วิธีการติดตั้งที่เหมาะสม หรือ อาจทำกับโครงสร้างที่มีอยู่แล้ว โดยนำวัสดุสวมทับเข้าไปอีกทีหนึ่ง คล้าย ๆ กับการทำห้องซ้อนอยู่ในห้องอีกที
นอกจากทำให้ห้องเป็น soundproof แล้ว ลักษณะ - ขนาดของห้อง ยังมีผลไปถึงการช่วยลดปัญหาของเสียง เช่น standing wave ฯ และ เพิ่มมิติเสียง ด้วย reverb ที่มากขึ้น ทำให้มี ambient ที่ดีในระหว่างบันทึก การทำ acoustic treatment ในขั้นตอนต่อมาก็จะลดภาระลงไปมาก
|
|
ความรู้พื้นฐาน
นิยามศัพท์ทางด้านเสียง
- Noise Reduction Coefficient (NRC)
- Absorption Coefficient (a)
- Sound Transmission Class (STC)
- Sound Transmission Loss (STL / TL)
- Decoupling
- Room Modes
วัสดุ และ ผลิตภัณฑ์
โครงสร้าง พื้น
โครงสร้าง เพดาน
โครงสร้าง ผนัง และ ปลั๊กไฟ
โครงสร้าง ประตู
โครงสร้าง หน้าต่าง
ระบบแอร์
การวางลำโพงมอนิเตอร์
ระบบไฟฟ้า
รูปทรงห้อง
- การทำมุมระหว่างผนัง
- มิติของห้อง
- ห้องสำหรับระบบ 5.1
|
|
การปรับปรุงคุณลักษณะทางเสียง
(Acoustic Treatment)
เสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง และมีคุณสมบัติของคลื่นครบทุกประการ จะสะท้อน (Reflection) เมื่อเจอวัสดุผิวเรียบ แข็ง, หากวัสดุผิวไม่เรียบ การสะท้อนก็จะไร้ทิศทาง (Diffusion), หากกระทบกับวัสดุที่มีความนุ่มหนา ก็จะถูกดูดซับ ถ่ายเทพลังงานออกไป (Absorbtion), หากวิ่งผ่านวัสดุที่มีความหนาแน่นต่างกัน เช่น อากาศ ไปหา ไม้ ไปหา ปูนซีเมนส์ ก็จะเกิดการหักเห (Refraction) และเมื่อวิ่งผ่านวัสดุที่ขนาดเล็กกว่าความยาวคลื่น (Wave length) ก็จะโอบและอ้อมผ่านไปได้ (Diffraction)
การปรับปรุงห้องให้มีคุณสมบัติทางเสียง (Acoustic Treatment) เหมาะสมกับการทำงาน จึงเกิดจากการนำวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ มาจัดวางในตำแหน่ง ทิศทาง มุม ที่กระทำกับเสียงโดยตรง โดยในห้องบันทึก (recording room) พิจารณาจากเส้นทางที่เป็นไปได้ จากแหล่งกำเนิดเสียงมายังไมค์ และหากเป็นห้องควบคุม (control room) ก็จะพิจารณาเส้นทางที่เป็นไปได้ จากลำโพงมอนิเตอร์มายังหูของ sound engineer … โดยการควบคุมนั้นยังต้องแบ่งว่าเป็นควบคุมในความถี่ใด สูง กลาง ต่ำ วัสดุแต่ละแบบมีคุณสมบัติตอบสนองในความถี่ที่ต่างกัน จึงจำเป็นต้องเลือกให้ถูกต้องด้วย
1. การดูดซับเสียง (Absorbtion)
2. การกระจายเสียงตกกระทบ (Diffusion)
3. การดูดซับเสียงในความถี่ต่ำ (Basstrap)
4. การแยกอุปกรณ์ (Isolation)
|
ติดต่อ 0816484181
|
|
ติดต่อฝ่ายขาย |
การออกแบบห้องเก็บเสียง
ห้องคาราโอเกะห้องดูหนังฟังเพลง
Acustic treatment